วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา
เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้
และปรินิพพานซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกันคือ ในวันเพ็ญ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนหก
หรือเดือนเวสาขะ พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์
เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ในห้วงระยะเวลาที่ต่างกันคือ
ครั้งแรก
เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะโอรสพระเจ้าสุทโธธนะและ
พระนาง สิริมหามายาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยประสูติที่ป่าลุมพินีวัน
ณเขตแดนรอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ของฝ่ายพระราชบิดากับกรุงเทวทหะของฝ่ายพระราชมารดา
ครั้งที่สอง
เกิดเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกทรงผนวชได้
๖ ปี พระชนมายุ ๓๕ พรรษาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นอรหันต-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ
ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชราประเทศมคธปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคย
ครั้งที่สาม
เกิดเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ณ เมืองกุสินารา
เหตุการณ์สำคัญทั้งสามประการนี้
เกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน ทางจันทรคติ ซึ่งนับวันขึ้นแรม
ตามวิถีการโคจรของดวงจันทร์ เป็นหลักในการกำหนดวัน เดือน
และปีซึ่งยังคงใช้กันมาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ควบคู่กันไปกับการกำหนดวัน เดือน
และปีทางสุริยคติ ซึ่งเป็นไปตามวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ นับเป็นเรื่องอัศจรรย์
ซึ่งยังไม่เคยมีการประจวบกันเช่นนี้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด
และเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดมาก่อนจนตราบเท่าปัจจุบันแต่ความอัศจรรย์ดังกล่าว
ก็ยังไม่เทียบเท่ากับการอุบัติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก
และได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาเพื่ออนุเคราะห์โลกให้เกิดประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติและสัตว์โลกทั้งมวลวันวิสาขบูชาจึงนับว่าเป็นวันสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา
เป็นวันที่ก่อให้เกิดพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระธรรมและนำมาสั่งสอนแก่สรรพสัตว์
และพระสงฆ์สาวกผู้สืบพระศาสนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ
เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา
ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน
เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดมนตร์ตามลำดับดังนี้คือ
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ ด้วยบท ” อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ…พุทโธภควาติ “บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ ด้วยบท ”
สวากขาโต ภควตาธัมโม…วิญญูหิติ “บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ ด้วยบท ” สุปฏิปันโน
ภควโตสาวกสังโฆ…โลกัสสาติ” จากนั้นก็จะกระทำ
ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมา
ในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ
รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ
๓ รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ
ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียนจากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ
ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้
และปรินิพพานพิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์
แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน
ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถูกต้องตรงทาง
เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่นตลอดชั่วกาลนาน ที่เราเรียกว่าวันวิสาขบูชานั้น
เพราะเป็นวันตรงกับวันเพ็ญ (วันกลางเดือนพระจันทร์เต็มดวง)
เดือนวิสาขบูชาซึ่งตรงกับเดือน ๖ ของไทย วันกลางเดือน ๖
เป็นวันที่พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน
ก็เลื่อนไปเป็นวันเพ็ญ (วันกลางเดือน) เดือน ๗ วันวิสาขบูชาเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายถือเอาความอัศจรรย์
๓ ประการที่เกิดขึ้นในวาระเดียวกัน แต่ละประการ ได้เกิดขึ้นในโอกาสต่างกัน
เป็นหลักการใหญ่เมื่อวันเช่นนี้เวียนมาถึงรอบปี
พุทธศาสนิกชนจึงประกอบพิธีสักการะบูชาเป็นการยิ่งใหญ่ ความอัศจรรย์ทั้ง ๓
ประการที่เกิดในวันวิสาขบูชาได้แก่
๑.
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ พระพุทธเจ้าพระมหาบุรุษของโลก
ทรงเป็นเอกอัครบุรุษประสูติมาในโลกเพื่อบำเพ็ญประโยชน์สุขและเกื้อกูลแก่ปวงชนเป็นจำนวนมาก
พระพุทธเจ้าประสูติมาเป็นแสงสว่างเป็นดวงประทีปของโลก
ในทางเผยแผ่สัจธรรมเพื่อความสงบร่มเย็นของชาวโลก
พระพุทธเจ้าประสูติขึ้นมาเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลและความสุขสงบของเทวดาและมนุษย์ทั่วไป
อันมีประวัติว่า
เมื่อพระนางสิริมหามายา
พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ
ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน
ก็ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ”
๒.
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ การตรัสอริยสัจสี่
คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของ พระพุทธเจ้าเป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้าจึงจัดเป็นวันสำคัญ
เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป
จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ (เจ้า) อันมีประวัติว่าพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป
ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ”
จนเวลาผ่านไปจนถึง … ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ “อาสวักขญาณ” คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย
อริยสัจ ๔ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
๓.
วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ
สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี
ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี
แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖
พระพุทธองค์กับ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่ นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง
แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ
เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง
ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น
พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมี
ความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด
” หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน
ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
พุทธกิจ
๕ ประการ
๑.
ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์
คือเสด็จไปโปรดจริงเพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้ว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนาหรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง
ทรงส่งเสริมผู้ปฏิบัติชอบอยู่แล้วให้ปฏิเสธชอบบ้าง เป็นต้น
๒.
ตอนบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ
ซึ่งปรากฏว่าไม่วาพระองค์จะประทับอยู่ที่ใดประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึงผู้ปกครอง
นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
๓.
ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ ณ
สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
๔.
ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่าง ๆ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพผู้สงสัยในปัญหาและปัญหาธรรม
๕.
ตอนเช้ามืด จนสว่างทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด
ได้แล้วเสด็จไปโปรด
โดยการไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ
๑ โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่างอยู่เพียงเล็กน้อยตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้วแต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ
ผู้มาเยือนอยู่เนือง ๆ เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา ๔๕
พรรษานั้นเองประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้
จึงถือเอาวันประสูติตรัสรู้และปรินิพพานของพระองค์เป็นวันสำคัญ
จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชาเมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี
พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน)
ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา
พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก
เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี
คือเวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน 6 ประมาณเดือนพฤษภาคม
หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา
การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น ๓พิธี คือ
๑.พิธีหลวง
(พระราชพิธี)
๒.
พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
๓.
พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)
การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา
ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น