วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา


วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด๓เดือนในฤดูฝนกล่าวคือเมื่อพระภิกษุได้อธิฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม๑ค่ำเดือน๘(หรือเดือน๙กรณีเข้าพรรษาหลัง) แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไปจนสิ้นสุดในวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๑(หรือเดือน๑๒ในกรณีเข้าพรรษาหลัง) หลังจากนี้ก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

วันออกพรรษานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันปวารณาหรือวันมหาปวารณาคือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรมคือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้เมื่อได้เห็นได้ฟังหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกันความสำคัญ

วันออกพรรษานี้นับเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้

๑. พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

๒. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแพร่แก่ประชาชน

๓. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณาเปิดโอกาสให้เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ความเคารพนับถือและความสามัคคีกันระหว่างสมาชิกของสงฆ์

๔. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ประวัติความเป็นมา
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ณพระเชตวันมหาวิหารกรุงสาวัตถีนั้นมีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษาอยู่ตามอารามรอบๆนครพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษาจึงได้ตั้งกติการว่าจะไม่พูดจากัน(มูควัตร)เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหารกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบพระพุทธเจ้าจึงทรงตำหนิว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า

อนุชานามิภิกขะเววัสสังวุตถานังภิกขูนังตีหิฐาเนหิ

ปะวาเรตุงทิฎเฐนะวาสุเตนะวาปะริสังกายะวา…”

แปลว่าภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะคือด้วยการเห็นก็ดีด้วยการได้ยินก็ดีด้วยการสงสัยก็ดี

๒. การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย

วันออกพรรษานี้เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรงที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญมักนิยมไปทำบุญทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษนอกจากนี้ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ประเพณีตักบาตรเทโว คำว่าตักบาตรเทโวมาจากคำเต็มว่า ตักบาตรเทโวโรหณะคือการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปฏิ-หารย์(ปฏิหาริย์เป็นคู่ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่๗บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา๓เดือนครั้นออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ

ในเทศกาลออกพรรษานี้มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติคือปวารณา
            ปวารณา ได้แก่การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น๒ฝ่ายคือ

๑. ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือนเรียกว่ามีเมตตาทางกายทางวาจาและทางใจพร้อมมูล

๒. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนต้องมีใจกว้างมองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือนดีใจมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้

การปวารณานี้จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์การปวารณาแม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้านได้ด้วยเช่นการปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัวในสถานศึกษาในสถานที่ทำงานพนักงานในห้างร้านบริษัทและหน่วยราชการเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น