วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะหรือเดือน๘เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรกโดยแสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักรกัปปวัตนสูตรเป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธ-
ศาสนาจนถือได้ว่าเป็นวันแรกที่มีพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ครบองค์พระรัตนตรัย
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา(เทศนาเป็นครั้งแรก)
เนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมา-ปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพานอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกรูปแรกที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สำหรับประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในบรรดาหลายๆประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาที่ประกาศให้มีวันอาสาฬหบูชาและถือปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
๑.
ส่วนที่เกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน๖และได้ประทับอยู่ณบริเวณที่ตรัสรู้นั้นตลอด๗สัปดาห์พระองค์ทรงใคร่ครวญถึงผู้ที่พระองค์จะแสดงธรรมโปรดอันดับแรกทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบสผู้เคยสอนความรู้ชั้นฌานให้แก่พระองค์มาแต่ท่านทั้ง๒ก็สิ้นชีพไปก่อนแล้วจึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์คือโกณฑัญญะวัปปะภัททิยะมหานามะและอัสสชิผู้ที่เคยมีอุปการคุณแก่พระองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าฤาษีทั้ง๕นั้นมีอุปนิสัยแก่กล้าสามารถบรรลุธรรมได้จึงเสด็จออกจากต้นศรีมหาโพธิ์ณตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสีแคว้นกาสีเสด็จไปถึงเย็นวันขึ้น๑๔ค่ำเดือนอาสาฬหะรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น๑๕ค่ำพระองค์จึงทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตรอันเป็นพระธรรม-เทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นเองสรุปความได้ว่าบรรพชิต(นักบวช)
ไม่ควรประพฤติสิ่งที่สุดโต่ง ๒ ส่วนคือ ๑.
การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข(กามสุขัลลิกานุโยค) และ ๒.การทรมานตัวเองให้ลำบาก
(อัตตกิลมถานุโยค) ควรดำเนินตามทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) คือ
มีความเห็นชอบ(สัมมาทิฐิ)
มีความดำริชอบ
(สัมมาสังกัปปะ)
เจรจาชอบ(สัมมาวาจา)
ทำการงานชอบ
(สัมมากัมมันตะ)
เลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
เพียรชอบ
(สัมมาวายามะ)
ระลึกชอบ(สัมมาสติ)
และตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงอริยสัจ๔คือหลักความจริงของชีวิตที่สำคัญซึ่งจะเป็นเหตุทำให้หมดกิเลสอันได้แก่ทุกข์(ความเกิดความแก่และความตายเป็นต้น)
สมุทัย(เหตุให้เกิดทุกข์คือความอยากต่างๆ) นิโรธ (ความดับทุกข์คือนิพพาน)
และมรรค(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม(เห็นตามเป็นจริง)
ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นทรงทราบว่าโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นโสดาบันแล้วจึงทรงเปล่งอุทานว่า
“อัญญาสิวะตะโภโกณฑัญโญอัญญาสิวะตะโภโกณฑัญโญ” แปลว่า“โกณฑัญญะรู้แล้วหนอโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” อันเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะได้นามว่า“อัญญาโกณฑัญญะ” มานับแต่นั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ทูลขอบวชพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาจึงเป็นอันว่ามีองค์พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ในวันนั้น
๒.
การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทยพิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อพุทธศักราช๒๕๐๑โดยพระธรรมโกศาจารย์(ชอบอนุจารี)
ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรีให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้นอีกวันหนึ่งคือ
วันธรรมจักรหรือวันอาสาฬหบูชาด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตรคณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมาโดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์เรื่องกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
เมื่อวันที่ ๑๔กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายกกำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกันกล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา๑สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัดคนวัดช่วยกันปัดกวาดปูลาด-อาสนะจัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวันทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกามาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถหรือพระเจดีย์จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรเย็นแล้วสวดธัมมจักรกัปปวัตนสูตรจบแล้วให้อุบาสกอุบาสิกาทำวัตรเย็นต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักรกัปปวัตนสูตรแล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธัมมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้วให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศลสวดมนต์สนทนาธรรมบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นต้นตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกินเวลา๒๔.๐๐น.
และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวางนับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วยหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น