วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น
2 ระยะคือปุริมพรรษาและปัจฉิมพรรษา
1.
ปุริมพรรษาคือวันเข้าพรรษาต้นตรงกับวันแรม1 ค่ำเดือน8 ของทุกปีหรือราวเดือนกรกฎาคมและออกพรรษาในวันขึ้น15
ค่ำเดือน11 ราวเดือนตุลาคม
2.
ปัจฉิมพรรษาคือวันเข้าพรรษาหลังสำหรับปีอธิกมาสคือมีเดือน8 สองหนตรงกับวันแรม1
ค่ำเดือน8 หลังหรือราวเดือนกรกฎาคมและจะออกพรรษาในวันขึ้น15 ค่ำเดือน11
ราวเดือนตุลาคมความหมายของวันเข้าพรรษาคือเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ณที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด3
เดือนตามพระวินัยบัญญัติโดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่นเรียกกันโดยทั่วไปว่า”จำพรรษา”
“เข้าพรรษา“ แปลว่า“พักฝน“
หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำณวัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝนโดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำแม้ในฤดูฝนชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆจนเสียหายพระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด3
เดือนในฤดูฝนคือเริ่มตั้งแต่วันแรม1 ค่ำเดือน8 ของทุกปีถ้าปีใดมีเดือน8
สองครั้งก็เลื่อนมาเป็นวันแรม1 ค่ำเดือนแปดหลังและออกพรรษาในวันขึ้น15 ค่ำเดือน11
เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้นก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้คราวหนึ่งไม่เกิน7
คืนเรียกว่าสัตตาหะหากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษาจัดว่าพรรษาขาดระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษาหากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควรแต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรมชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้จึงช่วยกันปลูกเพิงเพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝนรวมกันหลายๆองค์ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า”วิหาร” แปลว่าที่อยู่สงฆ์
เมื่อหมดแล้วพระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดีแต่บางท่านอยู่ประจำเลยบางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนักสร้างที่พักเรียกว่า”อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้นมีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่สบงจีวรสังฆาฏิเข็มบาตรรัดประคดหม้อกรองน้ำและมีดโกนและกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมาชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษาหรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยนและถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการกล่าวคือผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระโดยบวชเป็นเณรบ้างถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้างท่านก็สั่งสอนธรรมและความรู้ให้และโดยทั่วไปพุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัดนับว่าเป็นประโยชน์การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวันพุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่นดอกไม้ธูปเทียนเครื่องใช้เช่นสบู่ยาสีฟันเป็นต้นมาถวายพระภิกษุสามเณรที่ตนเคารพนับถือที่สำคัญคือมีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด3
เดือนมีการประกวดเทียนพรรษาโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำแม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุแต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส
ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆพอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตรฟังเทศน์ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัดบางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆเป็นกรณีพิเศษเช่นงดเสพสุรางดฆ่าสัตว์เป็นต้นอนึ่งบิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง
กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา
๑.
ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒.
ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ภิษุสามเณร
๓.
ร่วมทำบุญตักบาตรฟังธรรมเทศนารักษาอุโบสถศีล
๔.
อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่างๆ
ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ
1.
เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นาหากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆอาจไปเหยียบต้นกล้าหรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย
2.
หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา8 – 9 เดือนพระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน
3.
เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเองและศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
4.
เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวชอันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
5.
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษเช่นการทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษาถวายผ้าอาบน้ำฝนรักษาศีลเจริญภาวนาถวายจตุปัจจัยไทยธรรมงดเว้นอบายมุขและมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น