ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา
มีพระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพุทธบริษัท
เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
และเพื่อสืบทอดพระธรรมแห่งพุทธ ศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอเทวนิยม
และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ
พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน
มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเอง
เพื่อพาตัวเองออกจากกองทุกข์มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง
“ปัญญา” ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริงวัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา
คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง
ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด
พระศาสดาของพระพุทธศาสนา
คือ พระโคตมพุทธเจ้าหรือพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ
ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
แต่หลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน
ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก
จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก
ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของ นิกายเถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป
ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่
รอดของพุทธศาสนา แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ
นิกายมหายาน
ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง
ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก
โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลางเอเชียตะวันออก
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย
ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน
ปัจจุบันพระพุทธศาสนาได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก
หากนับจำนวนรวมกันแล้วอาจมากกว่า 500 ล้านคน
ประวัติ
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว
ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ พระโกณฑัญญะบรรลุเป็นพระโสดาบัน
และกราบทูลขอบวช นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ในสมัยพุทธกาล
พระองค์ได้เสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามที่ต่าง ๆ ในชมพูทวีปเป็นเวลานานกว่า 45 พรรษา
จนกระทั่งปรินิพพาน
ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน
จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป
จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2
นี้เองที่พระพุทธศาสนาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกาย
และในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา
จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง
ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยสลับกัน
เนื่องจากการส่งเสริมของผู้มีอำนาจปกครองในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาพรวมแล้ว
พุทธศาสนาในอินเดียเริ่มอ่อนแอลงหลังพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา
โดยศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในเอเชียกลาง
จีน เกาหลี ในขณะที่ศาสนาพุทธได้เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในญี่ปุ่น
และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่
25 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น
และได้มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม
27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อ “องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก”
วันสำคัญทางพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชา
เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้
และปรินิพพานซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกันคือ ในวันเพ็ญ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนหก
หรือเดือนเวสาขะ พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว
วันมาฆบูชา
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓ หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์
แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕
ค่ำกลางเดือน ๔ หรือประมาณเดือนมีนาคม วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมีบูชา"
แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ ถือเป็น “วันจาตุรงคสันนิบาต” แปลว่าการประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่ง เป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล
วันเข้าพรรษากำหนดเป็น 2 ระยะคือปุริมพรรษาและปัจฉิมพรรษา 1.ปุริมพรรษาคือวันเข้าพรรษาต้นตรงกับวันแรม1
ค่ำเดือน8 ของทุกปีหรือราวเดือนกรกฎาคมและออกพรรษาในวันขึ้น15 ค่ำเดือน11
ราวเดือนตุลาคม 2.ปัจฉิมพรรษาคือวันเข้าพรรษาหลังสำหรับปีอธิกมาส
วันออกพรรษาหมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด๓เดือนในฤดูฝนกล่าวคือเมื่อพระภิกษุได้อธิฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม
๑ ค่ำเดือน ๘ (หรือเดือน ๙ กรณีเข้าพรรษาหลัง)
แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไปจนสิ้นสุดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (หรือเดือน
๑๒ ในกรณีเข้าพรรษาหลัง) หลังจากนี้ก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
วันเทโวโรหนะ หมายถึง
วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา มีประวัติเล่าว่า ในสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้เสด็จไปประกาศ พระศาสนาในแคว้นต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป
ตลอดจนไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติทั้งหลายให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของแต่ละคน
แล้วพระองค์ได้ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ประสูติได้
๗ วัน ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา
ดังนั้น
จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทศนาพระอภิธรรมปิฏกโปรดพระพุทธ
เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม
๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว
พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ
ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา”
กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ กับแรม ๑๕ ค่ำ
ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ ) ในวันพระ
พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย
นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น