วันธรรมสวนะ
วันโกน ( เป็นภาษาพูด) หมายถึง
วันก่อนวันพระ 1 วัน ได้แก่ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ
ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ1 วัน
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง
วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ
4 วัน ได้แก่
วันขึ้น
8 ค่ำ
วันขึ้น
15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม
8 ค่ำ
วันแรม
15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร
กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่ เขาคิชกูฏ
ใกล้เมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้น พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลว่า
นักบวชในศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนาของเขา
แต่พระพุทธศาสนานั้นยังไม่มี
พระพุทธเจ้าจึงทรงอณุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนตามคำขออนุญาตของพระเจ้าพิมพิสาร
และเมื่อพระพุทธศาสานาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย
พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวมาเป็นวันธรรมสวนะเพื่อถือศีล ปฏิบัติธรรม
ประกอบบุญกุศล และกระทำกิจของสงฆ์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ
ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม
สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย
นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ
การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
ข้อควรปฏิบัติสำหรับชาวพุทธในวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1.
ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า รักษาศีล ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม
2.
ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด งดเว้นอบายมุข
3.
ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
4.
ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น