วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

วันธรรมสวนะ

วันธรรมสวนะ



วันโกน ( เป็นภาษาพูด) หมายถึง วันก่อนวันพระ 1 วัน ได้แก่ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ1 วัน

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่

วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ
วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

ประวัติความเป็นมา
           ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่ เขาคิชกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้น พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลว่า นักบวชในศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนาของเขา แต่พระพุทธศาสนานั้นยังไม่มี พระพุทธเจ้าจึงทรงอณุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนตามคำขออนุญาตของพระเจ้าพิมพิสาร และเมื่อพระพุทธศาสานาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวมาเป็นวันธรรมสวนะเพื่อถือศีล ปฏิบัติธรรม ประกอบบุญกุศล และกระทำกิจของสงฆ์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น

ข้อควรปฏิบัติสำหรับชาวพุทธในวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

1. ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า รักษาศีล ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม
2. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด งดเว้นอบายมุข
3. ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
4. ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

วันอัฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา



วันอัฏฐมีบูชา คือวันอะไร ตรงกับวันที่เท่าไหร่ ปัจจุบันแทบไม่เห็นปรากฎบนปฏิทิน ทำให้ วันอัฏฐมีบูชา นับวันยิ่งถูกลืม ทั้งที่ วันอัฏฐมีบูชา เป็น วันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่นับจาก วันวิสาขบูชา ไปเพียง 8 วัน หรือกล่าวคือ วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ทั้งนี้ หากปีใดมีอธิกมาส หรือมี 366 วัน วันอัฏฐมีบูชา ก็จะถูกเลื่อนไปตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7 แทน นั่นเอง

วันอัฏฐมีบูชา คือวันอะไร มีความสำคัญอย่างไร

           สำหรับ วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันอัฏฐมี คือ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน โดยมีการทำพิธี ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ประเทศอินเดีย ซึ่งเมื่อครั้งโบราณกาล วันอัฏฐมีบูชา นับเป็นวันที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง
           ด้วยเหตุนี้ เมื่อ วันอัฏฐมีบูชา เวียนมาบรรจบในแต่ละปี พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาขึ้นเป็นการเฉพาะเมื่อวันสำคัญนี้ เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ

  ประวัติ วันอัฏฐมีบูชา

           ตามประวัติ วันอัฏฐมีบูชา ระบุไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละ ในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ก็จัดพิธีบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ในเมืองกุสินาราตลอด 7 วัน และให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวายพระเพลิง
           จากนั้น ก็ให้พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ ทั้งที่ได้ทำตามคำของพระอานนท์เถระ ที่ให้ห่อพระสรีระพระพุทธเจ้าด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด
           ในการนี้ พระอนุรุทธะ จึงแจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ทั้งนี้ เนื่องจากเทวดาเหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูป โดยมีพระมหากัสสปะเ ป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด
           หลังจากที่พระเพลิงเผาไหม้พระพุทธสรีระพระบรมศาสดาดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่าง ๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตร อัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น
           และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่าง ๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตน แต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจาก "โทณพราหมณ์" พราหมณ์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยประกาศว่า
           "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิง พระบรมสารีริกธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น 8 ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"   

           เมื่อ โทณพราหมณ์ ได้เสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน กษัตริย์แต่ละเมืองก็ยอมรับแต่โดยดี และกลับไปสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองของตัวเอง ดังนี้

           1. กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี

           2. กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์

           3. กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ

           4. กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม

           5. มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ

           6. กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา

           7. พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์

           8. มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา

           9. กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน

         10. โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า ตุมพะ แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป)

 การประกอบพิธี วันอัฏฐมีบูชา
           ปัจจุบันการประกอบพิธี วันอัฏฐมีบูชา ในประเทศไทย มีเพียงบางวัดเท่านั้นที่จะที่จัดให้มีการทำพิธีบำเพ็ญกุศลในวันนี้ เช่น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น โดยการบำเพ็ญกุศลในวัน อัฏฐมีบูชา จะปฏิบัติอย่างเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันอื่น ๆ ที่มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ
           อย่างไรก็ดี บางวัดในบางจังหวัด ยังมีการนิยมบำเพ็ญกุศลเนื่องใน วันอัฎฐมีบูชา นี้อยู่บ้าง บางแห่งถึงกับจัดเป็นงานใหญ่ มีการจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งพุทธกาลด้วย เช่น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งในทุก ๆ ปี จะมีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก

วันเทโวโรหณะ

วันเทโวโรหณะ


วันเทโวโรหนะ หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา มีประวัติเล่าว่า ในสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้เสด็จไปประกาศ   พระศาสนาในแคว้นต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป  ตลอดจนไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติทั้งหลายให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของแต่ละคน  แล้วพระองค์ได้ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา  ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ประสูติได้ ๗ วัน  ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา   ดังนั้น  จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฏกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา   ครั้นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ หรือหลังวันออกพรรษา ๑ วัน  พระองค์เจ้าจึงได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   มาประทับที่เมืองสังกัสสะ  ประชาชนต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรกันอย่างเนื่องแน่น  ด้วยเหตุนี้  พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑  เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมาสู่เมืองมนุษย์  เพื่อโปรดสัตว์ ชาวบ้านทั่วไปเรียกวันนี้ว่า "วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก" หมายถึงเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงเปิดโอกาสให้โลกทั้ง 3 สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ประกอบด้วย สวรรคโลก มนุษยโลก และนรกโลก เป็นวันแห่งอิสระ เสรีภาพของเหล่านางฟ้า เทพบุตร เทพธิดาในแดนสวรรค์ ตลอดจนเหล่าภูต ผี ปีศาจ เปรต และอสุรกายทุกรูปทุกนามในแดนนรกภูมิ สามารถจะไปไหนมาไหนก็ได้ เมื่อเหล่านางฟ้า เทพบุตร เทพธิดา ทั้งหลายได้ทราบข่าวอันเป็นมงคลยิ่งนี้ จึงได้รวมตัวกันประกอบพิธี "กวนข้าวมธุปายาส" เป็นข้าวที่กวนผสมกับน้ำผึ้ง เรียกว่า ข้าวทิพย์ พิธีกวนข้าวทิพย์นี้จะต้องกระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อแจกจ่ายให้แก่เหล่านางฟ้า เทพบุตร เทพธิดา ได้นำไปใส่บาตรถวายสมเด็จพระสัมมาสัพพุทธเจ้า ขณะที่พระองค์กำลังเสด็จพระราชดำเนินลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เรียกวันสำคัญในวันออกพรรษาวันแรกนี้ว่า "วันตักบาตรเทโวโรหณะ" ชาวบ้านเรียกวันนี้ว่า "วันตักบาตรเทโว"พุทธศาสนิกชนต่างถือปฏิบัติด้วยการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหาร ดอกบัว ข้าวต้มโยน ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนอุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เพื่อให้ตนได้รับส่วนบุญกุศลอันจะก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และทำสืบต่อมาเป็นประเพณีจนทุกวันนี้  และเรียกว่า "ตักบาตรเทโว"

ต่อมา เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มายังประเทศไทย พุทธศาสนิกชนได้อัญเชิญพระพุทธรูป ๑ องค์นำหน้าแถวพระสงฆ์ ส่วนประชาชนผู้มาใส่บาตรจะยืนหรือนั่ง ๒ แถว หันหน้าเข้าหากัน โดยเว้นระหว่างกลางไว้ให้พระสงฆ์เดิน สาหรับของที่นำมาใส่บาตรอาจแตกต่างกันบ้าง บางแห่งนิยมทำข้าวต้มลูกโยน ซึ่งทำจากข้าวเหนียว ห่อด้วยใบมะพร้าว ไว้หางยาว เพื่อสะดวกในการโยนใส่บาตร

การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้ง อยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหาม มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคน ลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์ สามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าว อาหารหวานคาว มาเรียงรายกันอยู่เป็นแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่าน คอยตักบาตร อาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวาน ธรรมดาแล้วก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นผู้คนรอใส่บาตรกันแออัดมาก เข้าไม่ถึงพระ จึงใช้ข้าวก่อ หรือปั้นโยนลงบาตร ประเพณีการตักบาตรเทโวนี้ เนื่องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเหตุการณ์อะไรปรากฏในตำนาน ก็จะปรารภเหตุนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลเช่นการถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ทำทาน เป็นต้น ตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชน นับแต่นั้นมา

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา


วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด๓เดือนในฤดูฝนกล่าวคือเมื่อพระภิกษุได้อธิฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม๑ค่ำเดือน๘(หรือเดือน๙กรณีเข้าพรรษาหลัง) แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไปจนสิ้นสุดในวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๑(หรือเดือน๑๒ในกรณีเข้าพรรษาหลัง) หลังจากนี้ก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

วันออกพรรษานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันปวารณาหรือวันมหาปวารณาคือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรมคือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้เมื่อได้เห็นได้ฟังหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกันความสำคัญ

วันออกพรรษานี้นับเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้

๑. พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

๒. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแพร่แก่ประชาชน

๓. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณาเปิดโอกาสให้เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ความเคารพนับถือและความสามัคคีกันระหว่างสมาชิกของสงฆ์

๔. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ประวัติความเป็นมา
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ณพระเชตวันมหาวิหารกรุงสาวัตถีนั้นมีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษาอยู่ตามอารามรอบๆนครพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษาจึงได้ตั้งกติการว่าจะไม่พูดจากัน(มูควัตร)เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหารกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบพระพุทธเจ้าจึงทรงตำหนิว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า

อนุชานามิภิกขะเววัสสังวุตถานังภิกขูนังตีหิฐาเนหิ

ปะวาเรตุงทิฎเฐนะวาสุเตนะวาปะริสังกายะวา…”

แปลว่าภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะคือด้วยการเห็นก็ดีด้วยการได้ยินก็ดีด้วยการสงสัยก็ดี

๒. การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย

วันออกพรรษานี้เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรงที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญมักนิยมไปทำบุญทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษนอกจากนี้ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ประเพณีตักบาตรเทโว คำว่าตักบาตรเทโวมาจากคำเต็มว่า ตักบาตรเทโวโรหณะคือการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปฏิ-หารย์(ปฏิหาริย์เป็นคู่ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่๗บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา๓เดือนครั้นออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ

ในเทศกาลออกพรรษานี้มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติคือปวารณา
            ปวารณา ได้แก่การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น๒ฝ่ายคือ

๑. ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือนเรียกว่ามีเมตตาทางกายทางวาจาและทางใจพร้อมมูล

๒. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนต้องมีใจกว้างมองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือนดีใจมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้

การปวารณานี้จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์การปวารณาแม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้านได้ด้วยเช่นการปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัวในสถานศึกษาในสถานที่ทำงานพนักงานในห้างร้านบริษัทและหน่วยราชการเป็นต้น

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะคือปุริมพรรษาและปัจฉิมพรรษา

1. ปุริมพรรษาคือวันเข้าพรรษาต้นตรงกับวันแรม1 ค่ำเดือน8 ของทุกปีหรือราวเดือนกรกฎาคมและออกพรรษาในวันขึ้น15 ค่ำเดือน11 ราวเดือนตุลาคม

2. ปัจฉิมพรรษาคือวันเข้าพรรษาหลังสำหรับปีอธิกมาสคือมีเดือน8 สองหนตรงกับวันแรม1 ค่ำเดือน8 หลังหรือราวเดือนกรกฎาคมและจะออกพรรษาในวันขึ้น15 ค่ำเดือน11 ราวเดือนตุลาคมความหมายของวันเข้าพรรษาคือเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ณที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติโดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่นเรียกกันโดยทั่วไปว่าจำพรรษา

เข้าพรรษาแปลว่าพักฝนหมายถึงพระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำณวัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝนโดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำแม้ในฤดูฝนชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆจนเสียหายพระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด3 เดือนในฤดูฝนคือเริ่มตั้งแต่วันแรม1 ค่ำเดือน8 ของทุกปีถ้าปีใดมีเดือน8 สองครั้งก็เลื่อนมาเป็นวันแรม1 ค่ำเดือนแปดหลังและออกพรรษาในวันขึ้น15 ค่ำเดือน11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้นก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้คราวหนึ่งไม่เกิน7 คืนเรียกว่าสัตตาหะหากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษาจัดว่าพรรษาขาดระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษาหากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควรแต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรมชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้จึงช่วยกันปลูกเพิงเพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝนรวมกันหลายๆองค์ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่าวิหารแปลว่าที่อยู่สงฆ์

เมื่อหมดแล้วพระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดีแต่บางท่านอยู่ประจำเลยบางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนักสร้างที่พักเรียกว่าอารามให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้นมีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่สบงจีวรสังฆาฏิเข็มบาตรรัดประคดหม้อกรองน้ำและมีดโกนและกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมาชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษาหรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยนและถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการกล่าวคือผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระโดยบวชเป็นเณรบ้างถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้างท่านก็สั่งสอนธรรมและความรู้ให้และโดยทั่วไปพุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัดนับว่าเป็นประโยชน์การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวันพุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่นดอกไม้ธูปเทียนเครื่องใช้เช่นสบู่ยาสีฟันเป็นต้นมาถวายพระภิกษุสามเณรที่ตนเคารพนับถือที่สำคัญคือมีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด3 เดือนมีการประกวดเทียนพรรษาโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำแม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุแต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส

ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆพอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตรฟังเทศน์ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัดบางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆเป็นกรณีพิเศษเช่นงดเสพสุรางดฆ่าสัตว์เป็นต้นอนึ่งบิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง

กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา

๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ภิษุสามเณร

๓. ร่วมทำบุญตักบาตรฟังธรรมเทศนารักษาอุโบสถศีล

๔. อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่างๆ

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ

1. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นาหากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆอาจไปเหยียบต้นกล้าหรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย

2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา89 เดือนพระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน

3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเองและศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา

4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวชอันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษเช่นการทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษาถวายผ้าอาบน้ำฝนรักษาศีลเจริญภาวนาถวายจตุปัจจัยไทยธรรมงดเว้นอบายมุขและมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา


วันอาสาฬหบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะหรือเดือน๘เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรกโดยแสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักรกัปปวัตนสูตรเป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธ- ศาสนาจนถือได้ว่าเป็นวันแรกที่มีพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ครบองค์พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา(เทศนาเป็นครั้งแรก) เนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมา-ปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพานอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกรูปแรกที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สำหรับประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในบรรดาหลายๆประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาที่ประกาศให้มีวันอาสาฬหบูชาและถือปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน๖และได้ประทับอยู่ณบริเวณที่ตรัสรู้นั้นตลอด๗สัปดาห์พระองค์ทรงใคร่ครวญถึงผู้ที่พระองค์จะแสดงธรรมโปรดอันดับแรกทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบสผู้เคยสอนความรู้ชั้นฌานให้แก่พระองค์มาแต่ท่านทั้ง๒ก็สิ้นชีพไปก่อนแล้วจึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์คือโกณฑัญญะวัปปะภัททิยะมหานามะและอัสสชิผู้ที่เคยมีอุปการคุณแก่พระองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าฤาษีทั้ง๕นั้นมีอุปนิสัยแก่กล้าสามารถบรรลุธรรมได้จึงเสด็จออกจากต้นศรีมหาโพธิ์ณตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสีแคว้นกาสีเสด็จไปถึงเย็นวันขึ้น๑๔ค่ำเดือนอาสาฬหะรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น๑๕ค่ำพระองค์จึงทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตรอันเป็นพระธรรม-เทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นเองสรุปความได้ว่าบรรพชิต(นักบวช) ไม่ควรประพฤติสิ่งที่สุดโต่ง ๒ ส่วนคือ ๑. การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข(กามสุขัลลิกานุโยค) และ ๒.การทรมานตัวเองให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) ควรดำเนินตามทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) คือ

มีความเห็นชอบ(สัมมาทิฐิ)

มีความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)

เจรจาชอบ(สัมมาวาจา)

ทำการงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)

เลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)

เพียรชอบ (สัมมาวายามะ)

ระลึกชอบ(สัมมาสติ)

และตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงอริยสัจ๔คือหลักความจริงของชีวิตที่สำคัญซึ่งจะเป็นเหตุทำให้หมดกิเลสอันได้แก่ทุกข์(ความเกิดความแก่และความตายเป็นต้น) สมุทัย(เหตุให้เกิดทุกข์คือความอยากต่างๆ) นิโรธ (ความดับทุกข์คือนิพพาน) และมรรค(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม(เห็นตามเป็นจริง) ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นทรงทราบว่าโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นโสดาบันแล้วจึงทรงเปล่งอุทานว่า อัญญาสิวะตะโภโกณฑัญโญอัญญาสิวะตะโภโกณฑัญโญแปลว่าโกณฑัญญะรู้แล้วหนอโกณฑัญญะรู้แล้วหนออันเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะมานับแต่นั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ทูลขอบวชพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาจึงเป็นอันว่ามีองค์พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ในวันนั้น

๒. การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทยพิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อพุทธศักราช๒๕๐๑โดยพระธรรมโกศาจารย์(ชอบอนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรีให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้นอีกวันหนึ่งคือ วันธรรมจักรหรือวันอาสาฬหบูชาด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตรคณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมาโดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์เรื่องกำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายกกำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกันกล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา๑สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัดคนวัดช่วยกันปัดกวาดปูลาด-อาสนะจัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวันทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกามาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถหรือพระเจดีย์จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรเย็นแล้วสวดธัมมจักรกัปปวัตนสูตรจบแล้วให้อุบาสกอุบาสิกาทำวัตรเย็นต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักรกัปปวัตนสูตรแล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธัมมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้วให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศลสวดมนต์สนทนาธรรมบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นต้นตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกินเวลา๒๔.๐๐น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวางนับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วยหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา


วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓ หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๔ หรือประมาณเดือนมีนาคม

      วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชาแปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ ถือเป็น วันจาตุรงคสันนิบาตแปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ

      ๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่จ่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

      ๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

      ๓. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย

      ๔. วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน ๓) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์

      โอวาทปาติโมกข์ คือ ข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการ ได้แก่

      ๑. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง เว้นจากความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ

      ๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม ด้วยกาย วาจา ใจ

      ๓. ทำจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส

      การปลงมายุสังขาร
      หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา ๔๕ ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือ ตั้งพระทัยว่า ต่อแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพานการปลงอายุสังขาร ตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ ๘๐ พระชันษา

      ด้วยเหตุนี้ ในวันมาฆบูชา ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า รวม ๒ ประการ คือ เป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ และ เป็นวันปลงอายุสังขาร

      ประวัติการประกอบพิธีมาฆบูชา
      ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ดังนี้

      การมาฆบูชานี้ แต่เดิมก็ไม่ได้เคยทำมา พึ่งเกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า วันมาฆบุรณมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์ เป็นวันที่พระอรหันต์พุทธสาวก ๑,๒๕๐ ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์สี่ประการ เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เป็นการประชุมใหญ่และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์จึงได้ถือเอาเหตุนั้นกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ พระองค์นั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสและสังเวช

      การพระราชกุศลนั้น เวลาเช้าพระสงฆ์วัดบวรนิเวศน์และวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัดแล้ว จึงได้สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเมียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงได้มีเทศนาโอวาทปาติโมกข์กัณฑ์ ๑ เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยาม เครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน ๓ ตำลึงและขนมต่างๆ เทศน์จบพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์รับสัพพีทั้ง ๓๐ รูป

      การมาฆบูชานี้เป็นดือนสามบ้าง เดือนสี่บ้าง ตามวิธีปักษคณนาฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แต่คงอยู่ในดือนสามโดยมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทุกปีมิได้ขาด แต่ในแผ่นดินปัจจุบันนี้ (หมายถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จออกบ้างไม่ได้ออกบ้าง เพราะมักจะเป็นเวลาประสบกับที่เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยๆ ถ้าถูดคราวเส็จพระราชดำเนินไปประพาสบางประอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็ทรงทำมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหากนอกจากในพระบรมมหาราชวังฯ